ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสงขลา


วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 15:46 น.

ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสงขลา

 วิสัยทัศน์,ภารกิจและนโยบายองค์กร

: วิสัยทัศน์ : เป็นหลักประกันความยุติธรรมของประชาชนในจังหวัดสงขลา

: พันธกิจ :

  • สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสงขลา เป็นผู้แทนของกระทรวงยุติธรรมในการประสานนโยบาย  ยุทธศาสตร์ แผนและการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่จังหวัดมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทั้งระบบอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทด้วยการสนับสนุนและพัฒนายุติธรรมทางเลือก การป้องกันและควบคุมอาชญากรรมการแก้ไข บำบัดและฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
  • สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสงขลา มีการให้บริการในลักษณะเครือข่ายใยแมงมุม ในรูปแบบศูนย์บริการร่วม (Service link) และ One stop service เพื่อบริการประชาชนในการติดต่อหน่วยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เสร็จสิ้นเบ็ดเสร็จในจุดเดียวด้านการบริการประชาชนให้บริการประชาชนในด้านกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดสงขลา

 

: ภารกิจที่ให้บริการประชาชน :

1.การให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย

          เพื่อช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมายให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายเพื่อส่งเสริมความรู้กฎหมายแก่ประชาชนและเป็นผู้ประสานงานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

2. การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท

          การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกแทนการใช้กระบวนการยุติธรรมตามกระแสหลัก(ทางอาญาและทางแพ่ง)ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆสูง เสียเวลาและเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ในการไกล่เกลี่ยเป็นการหาทางออกของความขัดแย้งร่วมกันของคู่กรณีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  รวดเร็วและเน้นการประสานสัมพันธภาพให้คู่กรณีสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุขต่อไป

3. เครือข่ายยุติธรรมชุมชน

"เครือข่ายยุติธรรมชุมชน"เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" (Justice for All, All for Justice)อันจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับชุมชน ในการอำนวยความยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมและความสงบสุขในสังคมร่วมกัน โดยภาครัฐจะส่งเสริมการรวมตัวกันของประชาชนในลักษณะของ "เครือข่าย" เพื่อทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาครัฐในการดำเนินภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชุมชน

 

บทบาทหน้าที่ของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน

          1. ป้องกันปัญหาอาชญากรรมในชุมชน

          2. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและความขัดแย้งในชุมชน

          3. แก้ไข ฟื้นฟู ช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้กระทำผิด

          4.ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรม ให้คำแนะนำ และแก้ปัญหาในเบื้องต้นกับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพทางด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม

          5. การจัดตั้งและดำเนินการใน"ศูนย์ยุติธรรมชุมชน"

          6.เป็นแนวร่วมของกระทรวงยุติธรรมในชุมชนในการดำเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆที่เป็นการเสริมสร้างความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความสงบสุขในชุมชน เพื่อทำให้สังคมสงบสุขและมีความเป็นธรรม

4. การขอรับเงินค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยตาม พรบ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๔

          4.1ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอรับค่าตอบแทนจากรัฐได้ในกรณีดังต่อไปนี้

·       ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย จิตใจหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกทำร้าย ถูกฆ่าตาย ถูกลูกหลง ถูกทำให้แท้งลูก ถูกข่มขืน ถูกกระทำอนาจาร

·       ได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือตายจากการกระทำโดยประมาทของผู้อื่น

·       เด็ก คนชรา  คนป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และถูกทอดทิ้ง

สามารถยื่นคำขอรับค่าตอบแทนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการกระทำผิด

          4.2 จำเลยขอรับค่าทดแทนจากรัฐได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

          เมื่อถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดี  ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดและมีการถอนฟ้องระหว่างการดำเนินคดีหรือมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ยกฟ้องจำเลยโดยข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด

สามารถยื่นคำขอรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด

5. กองทุนยุติธรรม

ตามที่กระทรวงยุติธรรมได้จัดตั้งให้มีกองทุนยุติธรรมขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นไปด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น

สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายกองทุนยุติธรรม มีดังนี้

1. การวางเงินประกันการปล่อยตัวชั่วคราว

2. การจ้างทนายความ

3. ค่าธรรมเนียมขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมอื่นๆ  ในคดีแพ่ง และคดีปกครอง

4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์

5. ค่าใช้จ่ายอื่นของผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก

6. ค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัย

7. ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญา ที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลตั้งแต่สิบรายขึ้นไป

8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม